ทำไมถึงต้องใช้ PACS
ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ระบบ PACS ก็เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ที่พัฒนามาเพื่อใช้กับแผนกรังสีโดยตรง เนื่องจากภาพถ่ายทางรังสีมีความจำเป็นในการช่วยวิเคราะห์โรค และรักษาผู้ป่วย ระบบ PACS จะช่วยให้แพทย์ ได้รับภาพถ่ายทางรังสี และผลวิเคราะห์จากรังสีแพทย์อย่างรวดเร็ว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรค และให้การรักษา ผู้ป่วยได้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก นอกจากนี้ ปัญหาการจัดเก็บ และค้นหาฟิล็มเอ็กซเรย์ ก็ทำให้เกิดความล้าช้า ของการรายงานผลเอ็กซเรย์ได้ บางครั้งเราอาจจะพบว่ามีการสูญหายของฟิล็มเอ็กซเรย์ ซึ่งมีความจำเป็น ในการใช้เปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงของโรค และการให้การรักษาต่อเนื่อง ระบบ PACS มีการจัดเก็บข้อมูล ไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งมีระบบเก็บข้อมูลสำรอง จึงช่วยแก้ปัญหานี้ได้
เราจะได้อะไรจาก PACS
ข้อดีของระบบ PACS มีหลายอย่างดังนี้
1. ผลดีต่อกระบวนการรักษาพยาบาล
- ลดเวลาในการตรวจ และรอคอยผลการเอ็กซเรย์ เนื่องจากการล้างฟิล์ม และการค้นหาฟิล์มเก่า
- ได้รับการวินิจฉัยโรค และได้รับการรักษาพยาบาลเร็วขึ้น
- เนื่องจากสามารถเรียกข้อมูลเก่าที่เก็บไว้ในระบบได้ตลอด เวลาทำให้แพทย์ สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ของโรคได้ตลอดเวลาซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ ยิ่งขึ้น และช่วยในการวางแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง
- ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ จะได้รับเนื่องจากการถ่ายฟิล์มซ้ำ ที่เกิดจากการตั้งค่าเทคนิค ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย 2. ประหยัด
ทรัพยากรและ รักษาสิ่งแวดล้อม
- ลดอัตราการสูญเสียฟิล์มในการเอ็กซเรย์ซ้ำ เพราะระบบการถ่ายเอ็กซเรย์ที่เก็บภาพแบบ Digital ทำให้รังสีแพทย์ สามารถที่จะทำการปรับค่า ความสว่างของภาพได้
- ลดการสูญหายของฟิล์มเอ็กซเรย์ที่จะเกิดขึ้นในระบบเก่า
- ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการล้างฟิล์ม ( น้ำยาล้างฟิล์ม และ น้ำเสียจากเครื่องล้างฟิล์ม)
- ลดพื้นที่ในการจัดเก็บฟิล์มเอ็กซเรย์
- จะไม่มีการเสื่อมสภาพของภาพรังสี เพราะว่าข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีจะถูกเก็บในรูปแบบ Digital
ระบบ PACS จัดเก็บภาพเอ็กซเรย์อย่างไร
สำหรับระบบ PACS ในแผนกเอกซเรย์ สามารถทกการรับสัญญาฯ โดยทำการเชื่อมภาพที่เกิดจากเครื่องมือต่างๆ โดยผ่านมาตราฐานภาพ DICOM ดังนี้
1.Spiral Computed Tomography เป็นเครื่องตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบใหม่
2.Digital Subtraction Imaging เป็นเครื่องตรวจเอ็กซเรย์ร่วมกับสารทึบรังสี เช่น การตรวจกระเพาะอาหาร ฯ
3.Color Doppler Ultrasound เป็นเครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงระบบใหม่ สามารถตรวจพยาธิสภาพของหลอดเลือดได้
4.Computed Radiograph (CR system) เป็นการถ่ายเอ็กซเรย์ทั่วไป แต่ใช้ Imaging plate แทนฟิล์ม แล้วนำเข้าเครื่องอ่าน ซึ่งจะได้ภาพเป็น digital image ซึ่งสามารถส่งเข้าจอวินิจฉัยภาพของรังสีแพทย์เพื่อแปลผล และส่งให้แพทย์ผู้ส่งตรวจได้พร้อมกัน
ภาพจากเครื่องดังกล่าวทั้งหมดเป็นระบบดิจิตอลวึ่งจะถูกส่งมาเก็บในฐานข้อมูลของระบบ PACS และส่งไปยังจุดต่างๆที่จำเป็นทั่วโรงพยาบาล
ดังนั้นเครื่องๆ ที่เป็น Digital และมีมาตราฐาน DICOM ก็สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบ PACS ได้
ถ้าเราต้องการฟิล์มเอ็กซเรย์จะทำอย่างไร
บางครั้งเราจะพบว่า มีผู้ป่วยต้องการฟิล์มเอ็กซเรย์ ไปใช้ในการรักษาต่อที่อื่นซึ่งต้องใช้ฟิล์ม ในระบบ PACS สามารถที่จะทำการ พิมพ์ภาพถ่ายทางรังสีออกมาได้ โดยใช้เครื่อง Dry Thermal Imager ซึ่งต่อเชื่อมโยงกับระบบ PACS ที่ใช้สำหรับพิมพ์ภาพถ่าย ทางเอ็กซเรย์ลงฟิล์มเอ็กเซย์พิเศษได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยยัง สามารถขอรับภาพถ่ายทางรังสีใ นรูปแบบของแผ่น CD แทนแผ่นฟิล์ม เพื่อนำไปทำการรักษา ต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องถือฟิล์ม จำนวนมากอีกต่อไป (ในกรณีที่สถานพยาบาล ที่จะใช้ข้อมูลภาพเหล่านี้ มีระบบคอมพิวเตอร์ที่รองรับได้)
PACS ระบบที่ดีที่สุดของเอ็กซเรย์
มีผู้กล่าวเอาไว้ว่า ภายในอนาคตอันใกล้นี้ แผนกเอ็กซเรย์ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะมีการควบคุมด้วยระบบ PACS การโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้มีการ นำเอาระบบ PACS เข้าใช้ในแผนกเอ็กซเรย์ ของโรงพยาบาล และในอนาคต คาดว่าจะมีโรงพยาบาล หลายแห่งจะมีการติดตั้งระบบ PACS กันมากขึ้น ซึ่งนั้นก็หมายความว่า ผู้เข้ามาใช้บริการ ของโรงพยาบาล จะได้รับความสะดวก และรวดเร็ว ในการตรวจบริการ ของแผนกเอ็กซเรย์ รวมไปถึงได้รับการวินิจฉัย และการรักษาพยาบาล จากแพทย์โดยเร็ว และ มีประสิทธิภาพ มากขึ้นอีกด้วย รวมทั้งสามารถ ที่จะทำการปรึกษาผลวินิจฉัยภาพได้ระหว่างโรงพยาบาล ที่มีการติดดั้งระบบ PACS ได้เช่นกัน
การพัฒนาเข้าสู่ระบบ PACS ... อ่านต่อ