 |
|
 |
|
|
|
ภาวะทุพโภชนาการ ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วย ต่อบุคลากรทางการแพทย์ ต่อโรงพยาบาลและประเทศชาติ ต้องสิ้นเปลือง สูญเสียค่าใช้จ่าย และทรัพยากรต่าง ๆ สูงขึ้นโดยใช่เหตุ ทั้งนี้เพราะภาวะทุพโภชนาการในหลาย ๆ กรณี สามารถป้องกันหรือบรรเทาลงได้ ความชุกของภาวะทุพโภชนาการ แพทย์หญิง ศิริกัญญา สมศรี ได้ศึกษาวิจัยโดย ในปี 2552 ทำการประเมินคัดกรองภาวะทุพโภชนาการผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช เมื่อแรกรับหรือแต่เนิ่น ๆ โดยใช้แบบฟอร์ม BNT พบความชุกของภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยในมะเร็งนรีเวชโดยรวมคือ 81.33% (95% CI 80.57%, 82.10%) แยกเป็นภาวะทุพโภชนาการระดับเล็กน้อย 18.67%, ระดับปานกลาง 21.33%, ระดับรุนแรง 41.33% ค่ามัธยฐานของระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ 17 วัน (2-64 วัน) ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการระดับรุนแรง พบว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาพยาบาล 25.81% โดยภาวะทุพโภชนาการมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ (R=0.49; P<0.0001) หน่วยโภชนบำบัดได้นำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านโภชนบำบัดอย่างครบวงจร คือมีการประเมินคัดกรองภาวะทุพโภชนาการผู้ป่วยนอก (ผู้ใหญ่) โดยได้รับการสนับสนุนจาก OPD ที่เกี่ยวข้อง ส่วนผู้ป่วยในก็จะได้รับการประเมินคัดกรองเมื่อแรกรับหรือแต่เนิ่น ๆ โดยใช้แบบฟอร์ม BNT และติดตามสมดุลการได้รับสารอาหารขณะรักษาตัวเพื่อปรับการรักษาต่อไป หลังจำหน่าย ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการระดับปานกลาง-รุนแรง (BNT ระดับ 3-4) ก็จะได้รับการตรวจติดตามเมื่อเยี่ยมบ้าน ซึ่งริเริ่มโดยหน่วย PCU จากข้อมูลแผนกเวชระเบียน พบว่าในเดือนพฤศจิกายน 2553 มียอดรวมผู้ป่วยจำหน่าย 2,056 ราย มีผู้ป่วยทุพโภชนาการปานกลางและรุนแรงรวม 136 ราย ช่วยให้ปรับค่า RW ได้เพิ่มขึ้นอีก 61.97 ส่งผลให้ รพ.มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยชอบธรรมอีกประมาณ 550,000.00 บาท (ห้าแสนห้าหมื่นบาท) ต้องขอขอบคุณกองการพยาบาลและพยาบาลประจำหอผู้ป่วยที่ได้เสียสละ ใช้ความอุตสาหะในกิจกรรมนี้ เป้าหมายคือ เราจะเป็น รพ.ต้นแบบ ริเริ่ม นำร่องระบบโภชนาบำบัดอย่างครบวงจร ซึ่งระบบนี้ยังไม่ปรากฏในสถาบันใดเลยในปัจจุบัน
โดย: พลอากาศตรี วิบูลย์ ตระกูลฮุน ที่มา:ประชุมวิชาการทางการแพทย์ ครั้งที่ 34 ปี2554 |
|
|
จำนวนทั้งหมด 2 ย่อหน้า หน้า
[
1 ]
|
|
|
|
|
 |
|
 |