ข้อมูลหน่วยงาน
 
ประวัติ
 
ภารกิจ
 
การจัดส่วนราชการ
 
บุคลากร
 
ติดต่อ
การศึกษาและฝึกอบรม
วิจัยและวิชาการ
พัฒนาคุณภาพ
NSO News
 
NSO News ปีที่ 7 ฉบับที่ 10
บริการประชาชน
เว็บไซต์|แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ
 
สภาการพยาบาล
 
วิทยาลัยพยาบาล
 
ตรวจสอบ CNEU
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
viewbranch
หน่วยงานรักษาพยาบาล  กองการพยาบาล    ข้อมูลหน่วยงาน  ประวัติ  
  ประวัติ    

กองการพยาบาล โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ

ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ หมวดทหารเสนารักษ์ เริ่มมีนางพยาบาลผดุงครรภ์ เข้ารับราชการในกรมอากาศยาน เป็นครั้งเเรก ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ ยังไม่มีการจัดตั้งเป็นฝ่ายการพยาบาล การจัดการทั้งหมดจะดำเนินการผ่านธุรการของโรงพยาบาล การปฏิบัติในขณะนั้น พยาบาลทุกคนจะปฏิบัติงานเป็นเวร ๑๒ ชั่วโมง

ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ กองทัพอากาศได้ผลิตนักเรียนจ่าอากาศพยาบาล ใช้เเทนพลทหารเสนารักษ์รุ่นที่ ๑ จำนวน ๒๔ คน ใช้ระยะเวลา เรียนทั้งหมด ๓ ปี ในขณะที่ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช มีการพัฒนาสร้างอาคาร ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จึงมีการเปิดรับพยาบาลหญิง พร้อมกับมีพยาบาลชาย ที่กองทัพอากาศผลิตเองเพิ่มจำนวนขึ้น การปฏิบัติงานจากเดิมที่เป็นเวร ๑๒ ชั่วโมง เป็นเวร ๘ ชั่วโมง เช้า บ่าย ดึก ทุกหอผู้ป่วย

ในปี ๒๔๙๘ ได้ตั้งแผนกพยาบาลขึ้น พลอากาศตรี เจือ  ปุญโสนี  นายเเพทย์ใหญ่ ทหารอากาศ ขณะนั้น ได้พิจารณาขอจัดตั้ง โรงเรียนนางพยาบาลเพื่อผลิตพยาบาลใช้เอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหา การขาดเเคลนพยาบาลทั้งในส่วนกลาง เเละส่วนภูมิภาค  โดยมีใช้ระยะเวลาเรึยนทั้งหมด 3 ปี เเละรับราชการยศ เรืออากาศตรี หลังจากสำเร็จการศึกษา เเละเนื่องด้วย การบรรจุเข้ารับราชการเเละได้รับยศเรืออากาศตรีนั้นไช้งบประมาณค่อนข้างสูง อีกทั้งต้องแก้อัตรากองทัพอากาศ เเละเพิ่มตำแหน่ง นางพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาเป็นข้าราชการสัญญาบัตรอีกหลายตำแหน่ง เรื่องการจัดตั้ง โรงเรียนนางพยาบาลทหารอากาศจึงเป็นอันต้องระงับไป

ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ นาวาอากาศเอกสดับ   ธีระบุตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และรักษาการแทน นายเเพทย์ใหญ่ทหารอากาศ ได้เข้าพบ พลอากาศเอก เฉลิมเกียรติ  วัฒนางกูร เเละปรารภว่า "ทำไมกรมแพทย์ทหารอากาศ ไม่คิดจัดตั้งโรงเรียนเพื่อผลิตพยาบาลหญิงใช้เองบ้าง" นาวาอากาศเอกสดับ   ธีระบุตร จึงรับนโยบายมาดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนพยาบาล เสนอที่ประชุมสภากองทัพอากาศ เเละได้รับอนุมัติ เมื่อวันที่ ๙ ต.ค.๒๕๐๐ ให้ชื่อว่า "โรงเรียนจ่าอากาศพยาบาลหญิง" สังกัดกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ เเละเปิดการศึกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มิ.ย.๒๕๐๑  ใช้หลักสูตร"ประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์เเละอนามัย" ใช้ระยะเวลาในการศึกษา ๔ ปี เเละได้เเต่งตั้ง นาวาอากาศโทหญิง สอิงค์  ทีร์ฆะยศ ซึ่งเป็นพยาบาล ขึ้นดำรงตำแหน่ง หัวหน้าแผนกพยาบาลเป็นท่านเเรก

โรงเรียนพยาบาลทหารอากาศ ได้มีแผนปรับเปลี่ยนหลักสูตรเช่นเดียวกันกับกองทัพบก แผนกพยาบาล จึงได้ยกฐานะเป็น "กองการพยาบาล" และอัตรากำลังพลพยาบาลเปลี่ยนเป็นสัญญาบัตรทั้งหมด ตั้งเเต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เเละในปี ๒๕๓๖ ได้รับการยกฐานะจาก "หัวหน้ากอง" เป็น "ผู้อำนวยการกอง" อัตรา นาวาอากาศเอกพิเศษ นอกจากนั้น กองการพยาบาล ยังได้รับความไว้วางใจจาก วิทยาลัยพยาบาลทั้งภาครัฐเเละเอกชน ในการส่งนักศึกษาพยาบาลมาฝึกปฏิบัติ เป็นจำนวนหลายสถาบัน