ห้องตรวจผู้ป่วยทั่วไป
 
ตารางแพทย์ตรวจรักษาในเวลา
 
ตารางแพทย์ตรวจรักษานอกเวลา
 
ตารางแพทย์คลินิกพิเศษในเวลา
ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
 
ศูนย์ประสานบริการผู้ป่วย
 
ห้องพักฟื้น
 
หน่วยคัดกรอง
ห้องตรวจข้าราชการ
แผนกเวชระเบียนและสถิติ
 
เอกสารขอประวัติผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อ/ใบมอบอำนาจ
 
ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการลงทะเบียนผู้ป่วย V.Thai
 
ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการลงทะเบียนผู้ป่วย V.English
 
จุดที่ให้บริการของห้องเวชระเบียน
 
รอบรู้เรื่องสิทธิรักษาพยาบาล กรณีเป็นผู้ป่วยใน
 
การรับบริการที่อาคาร..คุ้มเกศ
 
ประกาศเรื่องการทำลายแฟ้มเวชระเบียน 4/11/2562
 
คำแนะนำการขึ้นสิทธิ ทุกสิทธิในการตรวจ MRI
 
การใช้บริการออกสิทธิจ่ายตรง และสิทธิเงินสด ที่ห้องตรวจ
 
การใช้บริการแผนกทะเบียนเวชสถิติ กรณีเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน
ห้องเอ็กซเรย์
 
คู่มือสำหรับประชาชนทั่วไป เรื่องการฝังแร่วัสดุกัมมันตรังสีแบบถาวรเพื่อรักษามะเร็ง
 
คำแนะนำ ก่อน/หลังการเจาะชิ้นเนื้อ (pre Core Biopsy Instruction)
 
วิธีการเตรียมตัว/รายการตรวจ
ห้องปฏิบัติการทางโลหิต
 
การใช้บริการ ศูนย์รับ-ส่งพยาธิกรรม
การเงินค่ารักษาพยาบาล
 
สิทธิ์ต่างๆของผู้ป่วย
คลังยา|ห้องจ่ายผู้ป่วยนอก
 
คำแนะนำในการรับยา/มีปัญหาเรื่องยาปรึกษา
 
ขั้นตอนการรับยา (ห้องยาอาคารคุ้มเกล้าฯ)
 
วารสารทางการแพทย์ “โอสถติดปีก”
 
Pharmacy News 4.0 ฉบับที่ 2/2561
 
ถาม-ตอบ: สอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา(โดยเภสัชกร) 24 ช.ม.
 
MRI (Magnetic Resonance Imaging)
 
คำแนะนำการขึ้นสิทธิ ทุกสิทธิในการตรวจ MRI
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
 
  • ห้องเอ็กซเรย์
  •  


    ห้องตรวจเวชศาสตร์นิวเคลียร์
    สถานที่ตั้ง 
                 ตึกสลากกินแบ่งรัฐบาลชั้น 1
    หมายเลขโทรศัพท์ 
                02-534-7215  เวลา 08.00-12.00 น.
                02-534-7422  เวลา 13.00-16.00 น.

     

      สถานที่นัดตรวจ
               -  แผนกเอกซเรย์ชั้น 2 หน้าห้องหมายเลข 12 เวลา 08.00 - 12.00 น.
               -  ตึกสลากกินแบ่งรัฐบาลชั้น 1 เวลา 13.00 – 16.00 น.

      เอกสารในการขอนัดตรวจ
             1.  ใบคำขอการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์จากแพทย์
             2.  ใบแบบฟอร์มสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่าย เช่น บัตรทอง บัตรประกันสังคม เป็นต้น

      เอกสารที่ต้องนำมาในวันตรวจ

             1.  ใบนัดตรวจที่เจ้าหน้าที่ได้ให้ไว้ในวันนัดตรวจ
             2.  อุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ให้ซื้อในวันนัดตรวจ

      การรับผลตรวจ
             1.  ใบรับผลตรวจหรือบัตรผู้ป่วย 
             2.  รับผลที่เอกซเรย์ชั้น 2 (ห้องเก็บฟิล์ม) เวลา 08.00-12.00 น. และรับผลที่ตึกสลากกินแบ่งรัฐบาล ชั้น 1 เวลา 13.00-
                     16.00 น.

         **หมายเหตุ**
              -   การตรวจนี้ใช้เภสัชรังสี ห้ามตรวจในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
              -   ผู้ป่วยต้องชำระค่าตรวจในวันนัดตรวจหรือชำระก่อนวันนัดตรวจอย่างน้อย 2 วัน
              -   ถ้ามาตรวจตามนัดไม่ได้ กรุณาโทรศัพท์เลื่อนนัดตรวจก่อนวันตรวจ 1 วัน โทรศัพท์ 02-534-7215 เวลา0 08.00-
                 12.00 น. หรือ 02-534-7422 เวลา 13.00-16.00 น.
              -  ผู้ป่วยที่มีฟิล์มเอกซเรย์เก่ากรุณานำมาด้วย

      การปฏิบัติตัวในการตรวจทางเวชศาสตร์ นิวเคลียร์
               การตรวจกระดูก ( Bone scan )
                         การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
                                 - ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร

               คำอธิบายการตรวจกระดูก ( Bone scan )
                      
                     เป็นการตรวจกระดูกทั่วร่างกาย โดยการฉีดเภสัชรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ เภสัชรังสีจะเข้าไปจับที่กระดูก โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่งโมง จึงถ่ายภาพทั้งตัวซึ่งใช้เวลาอีกประมาณ 30 นาที (หากไม่มีการ-ตรวจเพิ่มเติม) ในบางกรณีอาจถ่ายภาพต่อเนื่องขณะที่ฉีดเภสัชรังสีเพื่อดูปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณรอยโรค

      การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Uptake)
              การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
                     1.  หยุดรับประทานยาต้านไทรอยด์1 สัปดาห์
                     2.  หยุดรับประทานไทรอยด์ฮอร์โมน 6 สัปดาห์
                     3.  งดรับประทานอาหารและยาที่มีไอโอดีนผสมอยู่ 2 สัปดาห์
                     4.  ไม่ได้รับการเอกซเรย์ที่มีการฉีดสารทึบรังสีภายใน 6 สัปดาห์

              คำอธิบายการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์(Thyroid Uptake)
                        
                     เป็นการตรวจความสามารถในการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยให้ผู้ป่วยรับประทานเภสัชรังสี แล้วตรวจวัดที่เวลา 4 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมงหลังรับประทานเภสัชรังสี

              การตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Scan)
                               การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
                      1.  หยุดรับประทานยาต้านไทรอยด์1 สัปดาห์
                      2.  หยุดรับประทานไทรอยด์ฮอร์โมน 6 สัปดาห์
                      3.  ไม่ได้รับการเอกซเรย์ที่มีการฉีดสารทึบรังสีภายใน 6 สัปดาห์

            คำอธิบายการตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Scan) ทำได้ 2 วิธี
                      1.  เป็นการตรวจต่อมไทรอยด์ โดยการฉีดเภสัชรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ และถ่ายภาพต่อมไทรอยด์หลังฉีดยา
                                 20-30 นาที
                      2.  เป็นการตรวจต่อมไทรอยด์ โดยให้ผู้ป่วยรับประทานเภสัชรังสีแล้วรอประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อให้เภสัชรังสีถูก
                                  ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และถูกจับโดยต่อมไทรอยด์ หลังจากนั้นจึงถ่ายภาพที่บริเวณต่อมไทรอยด์

      การตรวจร่างกายด้วยสารไอโอดีนรังสีด้วย I-131(Total Body Scan )
            การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
                       1.  งดอาหารทะเล และอาหารที่มีไอโอดีนผสมอยู่อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
                       2.  งดยาไทรอยด์ฮอร์โมนถ้าเป็น eltroxin งด 4-6 สัปดาห์

              คำอธิบายการตรวจร่างกายด้วยสารไอโอดีนรังสี I-131 (Total Body Scan )
                       
                เป็นการตรวจหาเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ที่สามารถจับสารไอโอดีนได้ซึ่งอาจเป็นเนื้อไทรอยด์ปกติ หรือเนื้องอกที่แพร่กระจาย การตรวจมีอยู่ 2 ประเภท คือการตรวจก่อนการรักษาด้วยสารเภสัชรังสีไอโอดีน โดยให้ผู้ป่วยรับประทานสารไอโอดีนรังสี ปริมาณเล็กน้อย รอ 2-3 วัน จึงถ่ายภาพทั้งตัวและการตรวจหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา โรคต่อมไทรอยด์ด้วยสารไอโอดีนไปแล้วเพื่อดูการแพร่กระจายของโรค ซึ่งจะถ่ายภาพหลังจากการได้รับการรักษาไปแล้ว 7 วัน การถ่ายภาพทั้ง 2          ประเภทจะกินเวลาประมาณ 30 นาที เสร็จแล้วจะต้องรอพบแพทย์ก่อนกลับบ้าน 
      
      การตรวจปอด (Lung Scan)

              การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
                            -  ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร

              คำอธิบายการตรวจปอด(Lung Scan)
                        
                การตรวจปอดทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คือการตรวจดูเลือดที่มาเลี้ยงปอด (perfusion - lung scan)โดยการฉีดเภสัชรังสีเข้าหลอดเลือดดำแล้วถ่ายภาพดูที่ปอด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

      การตรวจหาเลือดออกในลำไส้ (GI Bleeding Scan)
              การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
                               -  งดน้ำและอาหาร อย่างน้อย 4 ชั่วโมง

              คำอธิบายการตรวจหาเลือดออกในลำไส้ (GI Bleeding Scan)
                            
                เป็นการตรวจหาภาวะเลือดออกทางเดินอาหาร โดยการใช้เภสัชรังสีฉีดเข้าทางเส้นเลือดถ้ามีเลือดออกในทางเดินอาหาร ก็จะเห็นเภสัชรังสีรั่วออกมาอยู่ในบริเวณลำไส้ ระยะเวลาในการตรวจขึ้นอยู่กับชนิดของเภสัชรังสีที่ใช้ และการเห็นจุดเลือดออกโดยการอาจใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรือนานกว่านั้นซึ่งจะทำการถ่ายภาพเป็นระยะๆแต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
     
      การตรวจการทำงานของตับและทางเดินน้ำดี (Hepatobiliary scan)

              การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
                           1.   งดอาหารและน้ำ 6-8 ชั่งโมงในผู้ใหญ่ ส่วนเด็กให้งดนมประมาณ 4 ชั่วโมง
                           2.   เตรียมอาหารที่มีไขมันสูง เช่นนมตราหมี (2 กระป๋อง) ดื่มขณะตรวจ
                           3.  ในเด็ก neonatal jaundice ที่สงสัย biliary atresia ควรให้ phenobarbital 5 mg/kg/day เป็นเวลา 5 วัน

              คำอธิบายการตรวจการทำงานของตับและทางเดินน้ำดี (Hepatobiliary scan)
                            
                เป็นการตรวจการทำงานของตับและดูภาวะความผิดปกติของทางเดินน้ำดี โดยการฉีดเภสัชรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ สารนี้จะถูกจับโดยเซลล์ตับและขับออกมาในทางเดินน้ำดีโดยการถ่ายภาพเป็นระยะ ระยะเวลาในการตรวจขึ้นกับความผิดปกติแต่ละชนิด โดยมากไม่เกิน 4 ชั่วโมง ยกเว้นในเด็กที่สงสัยว่ามีท่อน้ำดีอุดตัน อาจต้องมาถ่ายภาพในวันถัดไปอีกครั้ง ในระหว่างการตรวจจะให้กินอาหารไขมันสูงที่เตรียมมาเพื่อดูการหดตัวของถุงน้ำดี

      การตรวจเนื้อไต (Renal Cortical Scan)
            
    การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
                         - ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร

            คำอธิบายการตรวจเนื้อไต (Renal Cortical Scan)
                               
               เป็นการตรวจดูรูปร่าง ขนาด ตำแหน่ง และความผิดปกติของเนื้อไต โดยการฉีดเภสัชรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งต้องให้รอเวลาให้เภสัชรังสีไปจับเนื้อไตประมาณ 3 ชั่งโมง จึงถ่ายภาพบางครั้งอาจต้องใช้ยานอนหลับในผู้ป่วยเด็ก เพราะการถ่ายภาพจะต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาทีหรือนานกว่านั้นหากไตมีการทำงานไม่ดี โดยที่เด็กต้องนอนนิ่งตลอดเวลา

              การตรวจการทำงานของไต (Renogram)
                           การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
                           - ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร

              คำอธิบายการตรวจการทำงานของไต (Renogram)
                            
                 เป็นการตรวจการทำงานของไตแต่ละข้าง โดยการฉีดเภสัชรังสีเข้าทางเส้นเลือดดำ ซึ่งจะเข้าไปที่ไตและขับออกมากับปัสสาวะเมื่อเวลาผ่านไป สามารถบอกประสิทธิภาพการทำงานของไต ตลอดจนภาวะการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะได้ ระยะเวลาในการตรวจขึ้นกับเภสัชรังสีที่ใช้ โดยมากใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 90 นาที

      การรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษด้วยเภสัชรังสีไอโอดีน 131 (หรือน้ำแร่)
                          
                 โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นโรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ อาจมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มีอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย กินจุแต่ผอมลงผิดปกติโดยปกติต่อมไทรอยด์จะนำไอโอดีนจากอาหารไปสร้างเป็นฮอโมนที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายไอโอดีนรังสี (หรือน้ำแร่) มีคุณสมบัติคล้ายไอโอดีนจากอาหาร แต่ต่างกันตรงที่จะใช้รังสี ซึ่งสามารถทำให้ต่อมไทรอยด์ที่เป็นโรคกลับทำงานปกติ
                       
               วิธีการรักษาโดยไอโอดีนรังสี(หรือน้ำแร่) นี้ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานกว่า 50 ปีเป็นวิธีที่สะดวก ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดภาวะเป็นหมัน หรือเป็นมะเร็ง ดังที่เข้าใจในอดีต

      ข้อห้ามในการให้ไอโอดีนรังสี
                 1.  หญิงมีครรภ์ หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เนื่องจากรังสีจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
                 2.  หญิงให้นมบุตร เนื่องจากไอโอดีนรังสีจะถูกขับทางน้ำนม จึงควรงดให้นมบุตรก่อนรักษาด้วยวิธีนี้

      ข้อควรปฏิบัติหลังได้รับไอโอดีนรังสี
                    
                  หลังได้รับไอโอดีนรังสี ร่างกายของท่านจะมีรังสีแผ่ออกมาจากต่อมไทรอยด์บริเวณคอและเนื่องจากรังสีของท่านมิได้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น จึงควรป้องกันรังสีจากตัวท่านไปสู่ผู้อื่นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นท่านควรปฏิบัติดังนี้
              1.  ควรแยกนอนคนเดียว(หรืออย่างน้อยนอนห่างกันคนละมุม) เป็นเวลา 1 สัปดาห์
              2.  หลีกเลี่ยงการอุ้มเด็กเล็ก และอยู่ใกล้หญิงมีครรภ์ เป็นเวลา 1 สัปดาห์
              3.  เนื่องจากไอโอดีนรังสีขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ อุจจาระและน้ำลายดังนั้นหลังเข้าห้องน้ำควรราดน้ำมากๆ 
                         หรือกดชักโครก 2 ครั้ง และล้างมือทุกครั้ง ควรปฏิบัติดังนี้เป็นเวลา 1 สัปดาห์
             4. ท่านสามารถร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่นได้ แต่ควรใช้ช้อนกลาง อย่างน้อย 1 สัปดาห์
             5. คุมกำเนิดอย่างน้อย 6 เดือน โดยการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือห่วงอนามัย หากต้องการมีบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ก่อน

     

    <<- BACK