ข้อมูลหน่วยงาน
 
ประวัติกองทันตกรรม
 
ภารกิจ
 
โครงสร้างการบังคับบัญชา
 
รายนามบุคลากร
 
หน่วยงานในความดูแล
 
ติดต่อศูนย์ทันตกรรม
การศึกษาและฝึกอบรม
 
นิสิตแพทย์
 
แพทย์ประจำบ้าน
 
E-learning
วิจัยและวิชาการ
 
ข่าววิจัย และงานประชุมวิชาการ
 
ผลงานวิจัยและวิชาการ
พัฒนาคุณภาพ
 
โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
 
งานพัฒนาคุณภาพ...ทำต่อเนื่อง
 
โครงการ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
บริการประชาชน
 
คำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจรักษา
 
ตารางแพทย์ตรวจรักษาในเวลา
 
ตารางแพทย์ตรวจรักษาคลินิกพิเศษนอกเวลา
ความรู้สู่ประชาชน
 
เว็บไซต์|แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ
 
ทันตแพทยสภา
 
ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
 
ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
 
Electronic Books ทันตสาธารณสุข
   ช่องทางในการรับบริการ ทางทันตกรรม

 
   clip

 
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
 
  • ความรู้สู่ประชาชน
  •  


    ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ กับงานทันตกรรม
    ทุกวันนี้ชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งอาหารการกินของคนเราเปลี่ยนแปลงไปมากทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีเพิ่มมากขึ้น มะเร็งในบริเวณศีรษะและลำคอ เช่นมะเร็งลิ้น มะเร็งต่อมน้ำลาย มะเร็งโพรงจมูก สามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัด ให้เคมีบำบัด รวมทั้งให้การฉายแสงร่วมด้วย..
     
         เมื่อแพทย์วางแผนการรักษาให้ผู้ป่วยได้รับการฉายแสง แพทย์จะส่งผู้ป่วยมาทำการเตรียมช่องปากก่อนการฉายแส ทันตแพทย์จะตรวจและทำการรักษาทางทันตกรรมให้เรียบร้อยก่อนส่งผู้ป่วยกลับไปฉายแสงในขณะที่ผู้ป่วยฉายแสง และหลังฉายแสงแล้ว ผู้ป่วยจะถูกนัดมาติดตามเฝ้าระวังเรื่องฟันผุ เหงือกอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในช่องปากจากการฉายแสง ทันตแพทย์จะให้ความรู้ และรักษาป้องกัน จนกว่าจะมั่นใจว่าผู้ป่วยจะดูแลตัวเองได้แล้วจึงจะนัดเป็นระยะห่างออกไป
     
         ที่ต้องดูแลผู้ป่วยกันอย่างใกล้ชิดขนาดนี้ เพราะผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณใบหน้าและลำคอ ไม่ควรถอนฟันอีกหลังการฉายแสง เพราะถ้าผู้ป่วยกลุ่มนี้ไปถอนฟันหรือตัดแต่งกระดูกภายหลังฉายแสงบริเวณใบหน้ามาแล้วไม่ว่านานเท่าใด โอกาสที่แผลจะไม่หาย กลายเป็นแผลอักเสบเรื้อรัง เรียกว่า “ภาวะกระดูกตายจากการฉายแสง” (osteoradionecrosis) ซึ่งเมื่อเกิดภาวะนี้แล้ว การรักษาจะค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เวลานาน และเสียค่าใช้จ่ายมาก
     
         ขั้นตอนการรักษาที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยจะต้องเข้าห้องอบอ็อกซิเจนภายใต้ความกดบรรยากาศสูง เพื่อให้แผลที่เกิดขึ้นนี้กลับมาหายสู่สภาวะปกติ ซึ่งโรงพยาบาลที่มีห้องแบบนี้มีเพียงไม่กี่แห่ง เช่น โรงพยาบาลภูมิพล โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ทางที่ดีที่สุด คือผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณใบหน้ามาแล้วควรดูแลช่องปากให้ดี อย่าให้ต้องมีการถอนฟัน หรือตัดแต่งกระดูกอีก เพราะการรักษาจะยุ่งยากมากขึ้น ก่อนจะถอนฟันได้ ผู้ป่วยจะต้องเข้าโปรแกรมอบอ็อกซิเจนความกดบรรยากาศสูงเพื่อลดโอกาสการเกิดกระดูกตายจากการฉายแสง
     
         และทุกครั้งที่ไปพบทันตแพทย์ อย่าลืมบอกทันตแพทย์ว่า เคยได้รับการฉายแสงบริเวณใบหน้าและลำคอมาก่อน เพื่อจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป ทางที่ดีที่สุด คือ การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้ดีตลอดไป


    ข้อมูลโดย : ร.ท.หญิง รัฐติยา ปุณยานันต์
    1/11/53

    <<- BACK