|
|
|
|
เปลี่ยนสถานพยาบาลประจำ ใช้สิทธิได้ทันที... ไม่ต้องรอ 15 วันเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำ ใช้สิทธิได้ทันที... ไม่ต้องรอ 15 วัน
ข่าวดี! ของผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) ปัจจุบันสามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำได้ 4 ครั้ง/ปีงบประมาณ ก็จะสามารถใช้สิทธิได้ทันที... โดยไม่ต้องรอ 15 วัน ตามนโยบายการยกระดับสิทธิบัตรทองนะคะ ช่องทางการเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำ 2 ช่องทาง ดังนี้
1. ติดต่อด้วยตนเองได้ที่ - พื้นที่ ตจว. : หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือ ที่คุ้นเคยในชื่อสถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ - พื้นที่ กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 2 อาคารบี (ทิศตะวันตก) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ในวันเวลาราชการ
2. ช่องทางออนไลน์ - Application สปสช. เพียงดาวน์โหลดแอป สปสช. ดาวน์โหลดฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ทั้งระบบ Android และ iOS ระบบ Android https://play.google.com/store/apps/developer... ระบบ iOShttps://apps.apple.com/us/app/สปสช/id1111681040
- Line Official Account สปสช." add เป็นเพื่อน... เพียงสแกน QR Code หรือพิมพ์ค้นหาใช้ช่อง ID ว่า @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 1.สายด่วน สปสช. 1330 2.ช่องทางออนไลน์ • ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 • Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand • ไลน์ Traffy Fondue เป็นเพื่อนใน LINE ค้นหาไอดี @traffyfondue หรือคลิกที่ลิงค์ https://lin.ee/nwxfnHw
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อุบัติเหตุสูงวัย ใช้สิทธิอะไรได้อุบัติเหตุสูงวัย ใช้สิทธิอะไรได้ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ
สิทธิ 30 บาท หรือ สิทธิบัตรทอง หากเกิดอุบัติเหตุ สามารถเข้ารับบริการที่ รพ. ในระบบหลักประกันสุขภาพได้ทุกแห่ง
หรือหากมี "อาการฉุกเฉินวิกฤต" (สีแดง) สามารถเข้ารับการรักษา ใน รพ. ทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จนพ้นวิกฤตหรือสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ Line@ : @nhso สายด่วน โทร 1330
|
|
|
|
|
ปี 2566 พัฒนาบริการบัตรทองสปสช.พัฒนาประสิทธิภาพบริหารจัดการ บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี 2566 เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ ทั้งสายด่วนเลิกบุหรี่/สายด่วนสุขภาพจิต พร้อมขยายรายการจ่ายตามรายการบริการ (Fee Schedule) เป็น 22 รายการ ดูแลคนไทยทุกสิทธิการรักษา ------------------------------ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นบริการภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ สปสช. ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนไทยทุกคนทุกสิทธิการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ หรือสิทธิอื่นๆ เข้าถึงบริการอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อป้องกันโรคและมีสุขภาพที่ดี ลดภาวะเจ็บป่วยที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและสุขภาพ โดยเป็นหนึ่งในระบบบริการปฐมภูมิ
- ในปี 2566 นี้ ภายใต้กองทุนบัตรทองได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับประชากรทุกสิทธิ 66.286 ล้านคน ในอัตรา 322.56 บาท/คน วงเงินมากกว่า 21,300 ล้านบาท โดย สปสช. บริหารงบประมาณสนับสนุนบริการเป็น 3 ส่วน คือ
- บริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคที่บริหารระดับประเทศ จำนวน 26.75 บาท/คน เพื่อสนับสนุนการจัดหาวัคซีน ยาและวัสดุที่จำเป็นจ่ายให้แก่หน่วยบริการเพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย อาทิ วัคซีนพื้นฐาน (EPI) วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ยายุติการตั้งครรภ์ ถุงยางอนามัย สมุดบันทึกสุขภาพ รวมถึงเป็นค่าบริการสำหรับสายด่วนให้คำปรึกษาตามโครงการเพิ่มความสะดวกและการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อาทิ สายด่วนสุขภาพจิต สายด่วนเลิกบุหรี่
------------------------------ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thecoverage.info/news/content/4023
|
|
|
|
|
ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 เข้ารักษาที่หน่วยปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่หากผู้มีสิทธิบัตรทองอยู่ต่างพื้นที่ และเจ็บป่วยต้องเข้ารักษา ไม่จำเป็นต้องกลับไปใช้ที่หน่วยบริการประจำที่ลงทะเบียนไว้ แต่สามารถเข้ารักษาที่หน่วยปฐมภูมิได้ทุกที่ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องมีใบส่งตัว
- ปฐมภูมิ คือ บริการสุขภาฟด่านแรกของระบบบริการสาธรณะสุข
- หน่วยปฐมภูมิ เช่น สถานื่อนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รฟ. สต.,หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพชุมะน, ศูนย์บริการสาธรณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น
|
|
|
|
|
แพงแค่ไหน !? 'สิทธิบัตรทอง 30 บาท' ก็รักษาฟรีป่วยเป็น 'โรคค่าใช้จ่ายสูง' ไม่ต้องกังวล แพงแค่ไหน !? 'สิทธิบัตรทอง 30 บาท' ก็รักษาฟรี
ทุกคนที่ใช้ “สิทธิบัตรทอง 30 บาท” หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเข้ารับบริการการตรวจ การวินิจฉัย และการรักษาตั้งแต่โรคทั่วไปอย่างโรคไข้หวัด ไปจนถึงการรักษาโรคเรื้อรัง หรือโรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคเอชไอวี วัณโรค ฯลฯ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในกระบวนการรักษา ไม่ว่าจะเป็นค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ และยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงตามประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ค่าอาหารและค่าห้องสามัญระหว่างการพักรักษาตัวที่หน่วยบริการ แม้กระทั่งกรณีการจัดการการส่งต่อเพื่อรักษาระหว่างหน่วยบริการก็ครอบคลุมด้วยเช่นกัน
รายละเอียดเพิ่มเติม >>https://www.nhso.go.th/news/3734
ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
|
|
|
|
|
บัตรทอง...รักษาฟรีครอบคลุมอะไรบ้าง‘บัตรทอง 30 บาท’ คุ้มครองแบบ 360 องศา เช็คที่นี่ ... รักษาฟรีครอบคลุมอะไรบ้าง !!?
ครอบคลุมบริการที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2. การตรวจวินิจฉัยโรค 3. การตรวจและรับฝากครรภ์ 4. การบำบัดและการบริการทางการแพทย์ 5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 6. การทำคลอด 7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ 8. การบริบาลทารกแรกเกิด 9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย 10. บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ 11. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ 12. บริการสารารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ 13. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่บอร์ด สปสช. กำหนดเพิ่มเติม 14. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ยกเว้นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 15. การบริการสารารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถ ยกเว้นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 16. การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน
สิ่งที่ไม่ครอบคลุมเบิกไม่ได้
1. เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 2. การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 3. การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง 4. การปลูกถ่ายอวัยวะที่ไม่ปรากฎตามบัญชีแนบท้าย 5. การบริการทางการแพทย์อื่นตามที่บอร์ด สปสช. กำหนด
รายละเอียดเพิ่มเติม>>>https://www.nhso.go.th/news/3734
ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
|
|
|
|
|
สิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มวัยทำงาน อายุระหว่าง 25-59 ปี ทุกคน ทุกสิทธิการรักษา- กลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 25-59 ปี มีสิทธิประโยชน์บริการ ดังนี้ ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจเลือดคัดกรองเบาหวาน เอชไอวี คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ สุราและสารเสพติด คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (50-70 ปี) เคลือบฟลูออไรด์ การให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การคุมกำเนิด ให้ความรู้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง และให้คำปรึกษาแนะนำด้านสุขภาพ
- credit: https://www.facebook.com/photo/?fbid=406839188242595&set=a.269006072025908
|
|
|
|
|
ตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 ต้องทำอย่างไร ? ตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 ต้องทำอย่างไร ?
- สีเขียว รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ แก้เจ็บคอ หรือไปรับยาที่สถานพยาบาลตามสิทธิ-สถานพยาบาลรัฐใกล้บ้าน (เจอ แจก จบ) + กักตัวอยู่ที่บ้าน 10 วัน
การใช้สิทธิรักษา สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.)
- นอกจากไปที่สถานพยาบาลประจำที่ท่านลงทะเบียนไว้ ยังไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ (ไม่ใช้ใบส่งตัว) หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลประจำอำเภอ-จังหวัด, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น
- รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช.
- สิทธิประกันสังคม ไป รพ.ที่ลงทะเบียนไว้ รวมถึงสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง และสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง (สายด่วน 1506)
- สิทธิข้าราชการ ไป สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง และ รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. (สายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400 วัน-เวลาราชการ)
- กลุ่มสีเหลือง-สีแดง (ทุกสิทธิการรักษา) ใช้สิทธิ UCEP Plus (เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่) สถานพยาบาลรัฐ-เอกชน ที่อยู่ใกล้ได้
- กลุ่ม 608, หญิงตั้งครรภ์, เด็กอายุ 0-5 ปี, คนพิการ, ผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิ สปสช.) และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โทร. 1330 ประเมินอาการเข้าระบบรักษาที่บ้าน
เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร. 1669 ประกันสังคม โทร. 1506 บัตรทอง-อปท. โทร. 1330 ข้าราชการ โทร. 02-2706400 สอบถามสิทธิ UCEP Plus 028721669 (ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ติดโควิด 19- ตรวจ ATK พบผลเป็นบวก โทร 1330 กด 14 สปสช.จับคู่สถานพยาบาลดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน
- ปสช.เปิด 3 ช่องทางลงทะเบียนสู่ระบบการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) ประชาชนทุกคนที่ตรวจ ATK หากพบผลเป็นบวก โทร. สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 หรือลงทะเบียนด้วยตนเองทางเว็บไซต์ เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาที่บ้าน โดยจะได้รับการจับคู่สถานพยาบาล เพื่อติดตามและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ป้องกันอาการภาวะรุนแรง พร้อมควบคุมเผ้าระวังโรค
- ทั้งนี้ ระบบ Home Isolation เป็นบริการที่ครอบคลุมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทุกสิทธิการรักษา ซึ่งสามารถเข้าสู่ระบบด้วย 3 ช่องทาง ดังนี้
1. โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 14 2.กรอกข้อมูลด้วยตนเอง ที่ลิงค์ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI 3. Line สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 ทำได้ง่ายๆ ดังนี้
หลังจากเพิ่มเพื่อนไลน์ @nhso ให้กดเมนู บริการเกี่ยวกับโควิด-19 หลังจากนั้นเลือกหัวข้อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม Support Covid-19 ทั้งในส่วนข้อมูลบุคคลและข้อมูลผู้ป่วย Covid-19
|
|
|
|
|
สปสช. ยกระดับบริการ 30 บาทรักษาทุกที่ประกาศ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป สปสช. ยกระดับบริการ 30 บาทรักษาทุกที่ประชาชนที่เจ็บป่วยไปรับบริการ "ปฐมภูมิ" ที่ไหนก็ได้ ข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1330 สปสช. ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso
- หมายเหตุ : รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (รับส่งต่อ) การเข้ารับรักษาต้องมีใบส่งตัวจากหน่วยบริการปฐมภูมิ
- ยกเว้น: กรณีอุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน และผู้ป่วย "โครงการ Cancer Anywhere ผู้ป่วยมะเร็งรักษาได้ทุกที่"
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สิทธิบัตรทองเพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ 6 รายการสิทธิบัตรทองเพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ 6 รายการ
ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2564 ซึ่งมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) จำนวน 6 รายการ ซึ่ง 5 รายการจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 โดยใช้งบเหลือจ่ายปี 2564 ที่ไม่มีภาระผูกพัน จำนวน 238.59 ล้านบาท ในการจ่ายชดเชยบริการ ขณะที่อีก 1 รายการจะใช้งบจาก พ.ร.ก.กู้เงินฯ ที่ได้รับปีงบประมาณ 2565 ซึ่งได้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564
สำหรับรายการสิทธิประโยชน์ทั้ง 6 รายการ เป็นการดำเนินการเพื่อดูแลประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการรักษาที่จำเป็นเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 1. การตรวจยีน BRCA1 BRCA2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจคัดกรองและค้นหาการกลายพันธ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม ให้พบในระยะเริ่มต้นและได้รับการรักษาเร็ว ซึ่งจะมีความคุ้มค่ากับกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง และประหยัดต้นทุนค่ารักษาในกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์
2. การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ (HIV PEP) โดยให้ประชาชนทุกคนได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีหลังสัมผัสเชื้อ (PEP) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีผลการศึกษาของต่างประเทศที่พบว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ มีความคุ้มทุน โดยจะให้บริการครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน ไม่จำกัดจำนวนครั้งการให้บริการ ซึ่งคิดเป็นภาระงบประมาณจากค่ายาสูตรแนะนำ TDF/3TC/DTG และค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉลี่ย 1,594 บาทต่อราย
3. การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry ซึ่งจะเป็นการขยายการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดโรคทางพันธุกรรมเมตาบอลิก เพื่อเข้าสู่การรักษาโรคหายากได้อย่างรวดเร็วและช่วยชีวิตเด็กได้ ซึ่งการรักษาโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกก่อนมีอาการแสดง จะช่วยประหยัดต้นทุนค่ารักษา (cost-saving) และในปัจจุบันการคัดกรองเป็นวิธีการเดียวที่มีความแม่นยำในการระบุตัวผู้ป่วยเพื่อให้การรักษาก่อนมีอาการ โดยคิดเป็นภาระงบประมาณจากค่าตรวจคัดกรอง 500 บาทต่อราย
4. การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการค้นหาผู้มีรอยโรคเสี่ยงมะเร็งช่องปากรายใหม่ เข้าสู่การรักษาได้เร็วขึ้น โดยจะให้บริการคัดกรองสำหรับประชาชนไทย อายุ 40 ปีขึ้นไป ทุกสิทธิการรักษา คิดเป็นภาระงบประมาณจากค่าบริการตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) 600 บาท จากผู้เข้ารับการคัดกรองรอยโรคจำนวน 2% ที่จะต้องได้รับการตรวจชิ้นเนื้อ
5. การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก โดยให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรทองที่ไม่มีฟันทั้งปากและมีข้อบ่งชี้การใส่รากฟันเทียม ด้วยบริการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมและการบำรุงรักษา ซึ่งคิดเป็นภาระงบประมาณจากค่าผ่าตัด ค่ารากฟันเทียม และค่าบำรุงรักษา รวม 24,200 บาทต่อราย
6. การขยายข้อบ่งชี้การใช้ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG) ซึ่งจะขยายให้สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้แก่ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบ (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children; MIS-C) ในเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 กับผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Myocarditis / Pericarditis) ที่เกิดหลังการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ซึ่งคิดเป็นภาระงบประมาณจากค่ายา IVIG เฉลี่ย 50,000 และ 100,000 บาทต่อราย
24 ธันวาคม 2564
|
|
|
|
|
สปสช.ขอยกเลิกจุดให้บริการลงทะเบียน- สปสช.ขอยกเลิกจุดให้บริการลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) (ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป)
- 1. จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพประจำสำนักงานเขต 19 เขต
- 2. จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำธนาคาร (ธกส.)
- และธนาคารออมสิน จำนวน 4 แห่ง
- 3. เดอะมอลล์ บางแค ชั้น 3 โซน I TECH MALL
- 4. ศูนย์การค้าห้างน้อมจิตต์เดิม (N Mark Plaza) ชั้น 3 ตรงข้ามเดอะมอลล์บางกะปิ
- ติดต่อสอบถาม / ลงทะเบียนย้ายสิทธิ - เปลี่ยนหน่วยบริการ
ผ่านช่องทางออนไลน์ดังนี้ แอปพลิเคชัน สปสช. ไลน์ @ucbkk ไลน์ สปสช. สปสช. ศูนย์ราชการ อาคาร B ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จุดรับประชาชน บริเวณ ห้องสมุด สปสช. สอบถามเพิ่มเติมโทร 1330 ตลอด 24 ชม.
|
|
|
|
|
อาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิท-19 ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ได้- ฟังทางนี้! สิทธิบัตรทอง ข้าราชการ อปท. และสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ๆ ขอรับเงินช่วยเหลือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้
- ส่วนผู้ประกันตน ให้ยื่นคำร้องที่ สำนักงานประกันสังคมไปก่อน จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะแก้ไขประกาศคณะกรรมการการแพทย์ให้ผู้ประกันตนสัญชาติไทยกลับมารับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจาก สปสช. ได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง
|
|
|
|
|
เช็ครายชื่อหน่วยบริการแจก ATKประชาชนกลุ่มเสี่ยง สามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยบริการ ร้านยา ที่สามารถติดต่อขอรับ ชุดตรวจ ATK ด้วยตนเองด้แล้วที่ https://www.nhso.go.th/page/atk - เริ่มแจกได้ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 64 เป็นต้นไป ขอรับชุดตรวจผ่านแอปเป๋าตัง
- ขั้นตอนการขอรับ ATK >>>https://www.nhso.go.th/news/3262
กรณีประชาชนไม่มีสมาร์ทโฟนรับได้ที่ รพ. หรือ รพ.สต.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ กทม. ตรวจ ATK ด้วยตนเอง ผลเป็นบวกติดเชื้อโควิดต้องทำอย่างไร??ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ กทม. ตรวจ ATK ด้วยตนเอง ผลเป็นบวกติดเชื้อโควิดต้องทำอย่างไร??
1. ให้เซลฟี่รูปตนเองคู่กับตลับแถบทดสอบหรือถ่ายรูปบัตรประชาชนคู่กับแถบทดสอบ (เพื่อไว้เป็นหลักฐานให้หน่วยบริการที่ดูแลเมื่อได้รับการประสานกลับ) 2. สมัครเข้า HI ดูแลที่บ้านด้วยตนเองกรอกข้อมูลที่https://crmsup.nhso.go.th/ โทร 1330 กด 14 3. รอการติดต่อกลับจากหน่วยบริการอยู่ในโครงการดูที่บ้าน (Home Isolation) HI หากประเมินแล้วอาการอยู่ในกลุ่มสีเขียว เข้าสู่ระบบ HI จนครบกำหนด (หากมีอาการเปลี่ยนรุนแรงระดับสีเหลือง สีแดง ส่งต่อรักษาใน ศูนย์พักคอย / รพ.สนาม หรือ รพ. ต่อไป)
|
|
|
|
|
พกบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดยื่นให้เจ้าหน้าที่ เพื่อยืนยันตัวตน- ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) พกบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดยื่นให้เจ้าหน้าที่ เพื่อยืนยันตัวตนทุกครั้งที่เข้ารับบริการเมื่อใช้สิทธิ ในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งโรงพยาบาล , ศูนย์บริการสาธารณสุข และคลินิกปฐมภูมิที่ร่วมโครงการกับ สปสช. สามารถถือบัตรประชาชนใช้ยืนยันตัวตนทุกครั้งที่รับบริการรักษาและบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ที่มา: รู้จริงสิทธิบัตรทอง สปสช. กทม.
|
|
|
|
|
คลินิกชุมชนอบอุ่นทั่ว กทม.- 12 ก.ค.นี้ คลินิกชุมชนอบอุ่นทั่ว กทม. เริ่มระบบดูแลผู้ติดเชื้อที่บ้าน-ชุมชนรองรับผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นจากชุด Rapid Test ตรวจโควิด
- https://www.facebook.com/NHSO.Thailand/photos/a.1268992929833927/4207721712627686
สอบถามรายละเอียด โทร สายด่วน สปสช. 1330 ให้บริการตลอด 24 ชม.
|
|
|
|
|
รู้จริงสิทธิบัตรทอง สปสช. กทม.ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ กทม. เปลี่ยนสิทธิการรักษา/ลงทะบียนใช้สิทธิบัตรทองง่ายๆ ด้วยตนเอง ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน สปสช. หรือทางไลน์ @ucbkk
- เพิ่มเพื่อได้ที่ https://lin.ee/mLvmHpQ
|
|
|
|
|
การยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นากการรับวัคซีนโควิด-19"การยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนโควิด-19" ในพื้นที่ กทม.
- รายละเอียด ขั้นตอน เอกสารการยื่นคำร้อง สำหรับประชาชนคนไทยทุกสิทธิการรักษาพยาบาลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เตรียมเอกสาร ยื่นเรื่อง ตามขั้นตอนได้เลยค่ะ
- สามารถ download ใบคำร้องได้ที่ https://bkk.nhso.go.th/main/shownews.php?newsid=4765
|
|
|
|
|
หลักเกณฑ์เยียวยาแพ้วัคซีนโควิด-19 พื้นที่ กทม.หลักเกณฑ์เยียวยาแพ้วัคซีนโควิด-19 พื้นที่ กทม. ทุกสิทธิการรักษาพยาบาล ท่านที่มีผลกระทบหลังจากการฉีดวัคซีนสามารถยื่นเรื่องมาที่ สปสช.เขต 13 กทม. ได้ตลอดเลยนะคะ ส่งเอกสารทาง 1. E-mail : covid19bkk@nhso.go.th และส่งเอกสารตัวจริงมาที่ สปสช. 120 ม. 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) โซนทิศใต้ ชั้น 5 (ฝั่งลานจอดรถ) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 2. ยื่นเรื่องที่ สปสช. เขต 13 กทม. 3. ยื่นเรื่องที่ รพ.ที่ร่วมโครงการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพื้นที่กรุงเทพมหานคร
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|