ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง
- มีไข้สูง 2-7 วัน แม้รับประทานยาลดไข้ แต่ไข้มักจะไม่ลด
- มีอาหารหน้าแดง ตาแดง
- ซึม เบื่ออาหารและมีอาการอาเจียน
- บางรายอาจปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา
- ส่วนมากมักไม่มีอาการคัดจมูก น้ำมูกหรือไอ
- ประมาณวันที่ 3 อาจมีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามใบหน้า แขน ขา ซอกรักแร้ ในช่องปาก
- บางรายมีอาการรุนแรงและปรากฏอาการระยะที่ 2
ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก
- ในช่วงวันที่ 3-7 ไข้จะเริ่มลดลง แต่มีอาการทรุดหนักหรืออาการไม่ดีขึ้น
- มีภาวะช็อก เช่น ตัวเย็น เหงื่อออก ชีพจรเบาและเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
- อาจมีเลือดออกตามส่วนต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง เลือดกำเดาไหล อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
- ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจมีอันตรายถึงชีวิต
ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว
ในรายที่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา มีอาการช็อกไม่รุนแรง อาการต่าง ๆจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานอาหารได้หรือลุกนั่งได้
การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง มีเพียงไข้สูง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ไม่มีอาการเลือกออกหรือภาวะช็อก ควรปฏิบัติดังนี้
-พักผ่อนมากๆ หากมีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล
-ถ้าหากผู้ป่วยอาเจียนมาก มีภาวะช็อกหรือเลือดออก ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
ที่มา
รู้วิธีสังเกตอาการโรคไข้เลือดออก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, พยาบาล อยากเล่า