โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
   Health for Future
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซ์ืที่เกี่ยวข้อง


โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง

กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลราชวิถีเตือนวัยทำงานควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ เพื่อป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังในอนาคตได้

http://www.bhumibolhospital.rtaf.mi.th/Sitedirectory/647/3677/15645_%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0.jpg

 


นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันในกลุ่มวัยทำงาน มักเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะมากกว่ากลุ่มอื่น สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในสังคมวัยทำงานที่เร่งรีบ มีความเครียด ความกังวล ส่งผลให้รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ หรือการรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin ยาลดการอักเสบเป็นประจำ อีกทั้ง การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ที่อาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคน ส่งผลทำให้เกิด โรคกระเพาะได้ นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของโรคกระเพาะนั้นสังเกตได้ ดังนี้ อาการปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาหารไม่ย่อย ลมในท้องเยอะ สามารถเกิด ก่อน – หลังรับประทานอาหารได้ หรือ คลื่นไส้ อาเจียน และอิ่มง่าย การป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคกระเพาะอาหารนั้น สามารถดูแลได้ด้วยตัวเอง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ ตรงเวลา อย่าปล่อยให้ท้องว่างเกิน 3 ชั่วโมง รับประทานอาหารจำนวนน้อยๆ ย่อยง่าย ในแต่ละมื้อควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้อง เช่นอาหารรสจัด รสเปรี้ยว อาหารหมักดอง งดเครื่องดื่มกาแฟ ช็อกโกแลต แอลกอฮอล์ บุหรี่ น้ำอัดลมเพราะมีแก๊สมากกระเพาะขยายตัวทำให้ปวดมากขึ้นและกระตุ้นให้หลั่งกรดเพิ่มขึ้นด้วย งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAID )หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้กรดออกมาก ตามธรรมชาติเมื่อกรดออกมากจะสร้างแก๊สมาก กระเพาะจะขยายและเกร็งตัวทำให้มีอาการปวดท้องมากกว่าปกติ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการ ปวดท้องรุนแรง น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ************************************************************************** - ขอขอบคุณ- กรมการแพทย์
  Hits: 2183 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยา แก้อักเสบ (15/8/2562)
 หูอักเสบ... ส่งผลต่อการได้ยิน (26/8/2562)
 โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) (14/8/2562)
 5 สิ่งที่ควรทำ เพื่อเตรียมตัว ..แก่.. อย่างมีคุณภาพ (5/8/2562)
 โรควัณโรค (31/7/2562)
 โรคไข้เลือดออก (22/7/2562)
 โรคชิคุนกุนยา (22/7/2562)
 ข้อห้ามในการนวด (18/7/2562)
 คู่มือประชาชน (10/7/2562)
 แนวทางการป้องกัน... ไม่ให้ป่วยเป็น วัณโรค (27/6/2562)
จำนวน 394 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ << <  17  18  19  20 21  22  23  24  25  >  >>  ... ]  
  เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง