ไขข้อข้องใจ คนไข้ VS หมอหลายประเด็นที่คนไข้คิด อาจไม่ตรงกับความจริงที่หมอเป็น ความจริงที่คนไข้ส่วนหนึ่งยังไม่รู้คือ หมอในโรงพยาบาลรัฐ 1 คน อาจต้องตรวจรักษาคนไข้วันละเป็นร้อยๆ คน หมอมาทำงานแต่เช้าตรู่ แต่ต้องขึ้นไปตรวจคนไข้ในให้หมดก่อน จึงจะสามารถลงมาตรวจคนไข้นอกได้
|
ไขข้อข้องใจ คนไข้ VS หมอ
สิ่งนี้ทำให้หมอมีเวลาน้อย เพราะแค่ตรวจวินิจฉัยโรคคนไข้ก็แทบจะหมดเวลาแล้ว จึงอาจทำให้หมอสื่อสารกับคนไข้น้อยเกินไป
-
ต้องยอมรับว่าโรคบางโรคสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ยาก รวมทั้งกระบวนการตรวจวินิจฉัยก็มีความซับซ้อน ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจจริงๆ โดยเฉพาะระยะการแสดงของตัวโรค เช่น มาตรวจวันนี้อาจฟันธงชี้ชัดอะไรไม่ได้เลย ต่างกับการตรวจซ้ำในอีก 2 วันข้างหน้า
-
นั่นเพราะร่างการมนุษย์มีความซับซ้อน การแสดงอาการของโรคในช่วงเวลาต่างกัน จะทำให้การวินิจฉัยได้ผลต่างกัน หรือ อาจมีโรคเพิ่มเติมบางโรคที่ในระยะแรกไม่แสดงอาการ สิ่งนี้จึงเป็นประเด็นให้คนไข้ตั้งคำถามในใจอยู่เสมอ
-
ถ้าปัญหาทั้งหลายส่งผลมาจากมีหมอไม่พอกับคนไข้ แล้วทำไมไม่ผลิตหมอเพิ่มให้เพียงพอหล่ะ
-
คำตอบคือ ในรอบ 20 ปีมานี้ ผลิตหมอได้เพิ่มขึ้น 3.5 เท่าแล้ว แต่คนไข้กลับเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า โดยข้อมูลล่าสุดในปี 2560 มีผู้ป่วยนอกเข้ารับการรักษาถึง 184 ล้านครั้ง
-
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเตือนแล้วว่า การเจ็บป่วยและเสียชีวิตในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable diseases) กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักของประชากรโลก
-
สำหรับในประเทศไทย NCDs คือสาเหตุการเสียชีวิตถึง 75% ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งประเทศหรือพูดง่ายๆ คือ เรามีคนไข้ที่ป่วยและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง ทั้งเบาหวาน หลอดเลือดสมองและหัวใจ ถุงลมโป่งพอง มะเร็ง ความดันโลหิตสูง และอ้วนลงพุง ฯลฯ
เพิ่มหมอ ลดคนไข้ สื่อสารกันมากขึ้น แก้ปัญหาเชิงระบบให้ดีขึ้น คือทางออกที่ทุกคนช่วยกันได้จริงๆ เมื่อเราร่วมมือกันและเข้าใจกัน
credit: แพทยสภา |
|
|