โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
   Health for Future
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซ์ืที่เกี่ยวข้อง


แค่เดิน ก็เท่ากับออกกำลังกาย

แม้คนส่วนใหญรู้ว่าการออกกำลังกายนั้นเป็นเรื่องที่ดี และควรทำอย่างสม่ำเสมอ แต่สุดท้ายก็มักจะละเลย เพราะไม่มีเวลาบ้าง ไม่สะดวกบ้าง บางครั้งก็เหนื่อยกับภารกิจต่างๆ จนแทบไม่อยากจะทำอะไร จนโรคภัยถามหา ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ กระดูกผุ ภูมิแพ้ ฯลฯ


 
แต่เชื่อหรือไม่ว่า แค่การเดิน ก็สามารถเป็นการออกกำลังกายได้อย่างง่ายๆ ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย สามารถทำได้ทันที เพียงแค่ต้องมีหลักการในการออกกำลังกายดังต่อไปนี้

• ก่อนก้าวเดิน

  • รองเท้าสำหรับเดินควรมีความยืดหยุ่น กระชับกับเท้าและน้ำหนักเบา
  • ในชีวิตประจำวันควรเดิน ประมาณ 5,000 ถึง 6,000 ก้าวต่อวัน แต่หากเป็นการเดินเพื่อออกกำลังกาย ควรเพิ่มอีกประมาณ 3,000 ถึง 4,000 ก้าว ทำให้ได้จำนวนรวมกันประมาณ 10,000 ก้าว จำเป็นต้องอบอุ่นร่างกายประมาณ 5-10 นาที ด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อขา ต้นขาและกล้ามเนื้อหลัง ออกเดินช้าๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายปรับตัว แล้วจึงเดินออกกำลังด้วยการเร่งความเร็วขึ้น

• ออกเดิน

  • เดินศีรษะและลำตัวตั้งตรง คางขนานตามแนวพื้น ตามองไปข้างหน้า หลีกเลี่ยงการเดินก้มหน้ามากกว่า 5 องศา เพื่อป้องกันอาการปวดหลังและคอ ขณะเดินไม่ควรเกร็งไหล่ ข้อศอกงอประมาณ 90 องศาและกำมือหลวมๆ เพื่อลดการปวดเกร็งที่กล้ามเนื้อ
  • ควรเดินแกว่งแขน เพื่อให้การเดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ไม่ควรแกว่งแรงหรือแกว่งแบบไร้ทิศทาง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บบริเวณหลังและไหล่
  • เดินโดยใช้แรงเหวี่ยงจากสะโพก ก้าวเท้าไปข้างหน้า ลงน้ำหนักที่ส้นก่อนแล้วถ่ายน้ำหนักลงเต็มฝ่าเท้า ยกส้นเท้าขึ้น ถ่ายน้ำหนักลงสู่ปลายเท้าแล้วยกเท้าก้าวไป เน้นการเดินจังหวะถี่ๆ มากกว่าการสาวเท้าก้าวไกลๆ เพื่อไม่ให้สะโพกหรือขาบาดเจ็บ
  • ในช่วงการออกเดิน สามารถเลือกเดินต่อเนื่องประมาณ 20-30 นาที หรือเดินสะสมช่วงละ 10 นาทีแล้วรวมกันให้ได้ 30 นาทีทั้งวันก็ได้ แต่ไม่ควรเดินต่อเนื่องน้อยกว่า 10 นาที
  • อาจเลือกเปลี่ยนวิธีการเดินได้หลายรูปแบบ เช่น เดินแล้วถือดัมเบลไว้ในมือ (ดัมเบลไม่ควรเกินข้างละ 1-3 ปอนด์) เดินแบบมีของสะพายหลัง (น้ำหนักประมาณ 2.5 – 6 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 15 กิโลกรัม) เดินขึ้นลงบันได (ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องเข่า เพราะจะทำให้ข้อเข่าบาดเจ็บได้) การเดินบนทราย เดินขึ้นทางลาดชัน เดินในน้ำ เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมอนามัย
ติดตามข้อมูลข่าวสารดีๆ จากกรมอนามัยได้ที่:
Facebook: www.facebook.com/anamaidoh/
Website:
www.thla2018.com
สมาคมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย

  Hits: 3084 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 ดูแลเด็กเล็ก ในวันที่เมืองเปื้อนฝุ่น (25/1/2562)
 สวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง เพื่อตัวคุณเองและคนรอบข้าง (16/1/2562)
 สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ประจำวันที่ 14 มกราคม 2562 (14/1/2562)
 ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง...ของอย่าลืมมองหาสัญลักษณ์โภชนาการ ทางเลือกสุขภาพ นะคะ (21/1/2562)
 อันตรายจากลูกโป่งอัดไฮโดรเจน แนะ 3 วิธีลดความเสี่ยง (9/1/2562)
 4 ภัยสุขภาพ ที่มากับลมพายุ (4/1/2562)
 การดูแลช่องปาก (3/1/2562)
 นั่งเล่นมือถือระหว่างขับถ่าย... เสี่ยงโรค (9/1/2562)
 เลี่ยงอาหารเสี่ยง เลี้ยงอาหารสุก (25/12/2561)
 การปฏิบัติตัวของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน (21/12/2561)
จำนวน 394 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ << <  22  23  24  25 26  27  28  29  30  >  >>  ... ]  
  เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง