โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
   Health for Future
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซ์ืที่เกี่ยวข้อง


การสังเกตอาการโรคไข้เลือดออกด้วยตนเอง

พยาบาล อยากเล่า: การสังเกตอาการโรคไข้เลือดออกด้วยตนเอง การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง มีเพียงไข้สูง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ไม่มีอาการเลือกออกหรือภาวะช็อก ควรปฏิบัติดังนี้


ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง


- มีไข้สูง 2-7 วัน แม้รับประทานยาลดไข้ แต่ไข้มักจะไม่ลด
- มีอาหารหน้าแดง ตาแดง
- ซึม เบื่ออาหารและมีอาการอาเจียน
- บางรายอาจปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา
- ส่วนมากมักไม่มีอาการคัดจมูก น้ำมูกหรือไอ
- ประมาณวันที่ 3 อาจมีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามใบหน้า แขน ขา ซอกรักแร้ ในช่องปาก
- บางรายมีอาการรุนแรงและปรากฏอาการระยะที่ 2

ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก


- ในช่วงวันที่ 3-7 ไข้จะเริ่มลดลง แต่มีอาการทรุดหนักหรืออาการไม่ดีขึ้น
- มีภาวะช็อก เช่น ตัวเย็น เหงื่อออก ชีพจรเบาและเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
- อาจมีเลือดออกตามส่วนต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง เลือดกำเดาไหล อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
- ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจมีอันตรายถึงชีวิต

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว


ในรายที่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา มีอาการช็อกไม่รุนแรง อาการต่าง ๆจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานอาหารได้หรือลุกนั่งได้

การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง มีเพียงไข้สูง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ไม่มีอาการเลือกออกหรือภาวะช็อก ควรปฏิบัติดังนี้

-พักผ่อนมากๆ หากมีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล
-ถ้าหากผู้ป่วยอาเจียนมาก มีภาวะช็อกหรือเลือดออก ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

ที่มา
รู้วิธีสังเกตอาการโรคไข้เลือดออก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, พยาบาล อยากเล่า

 

------------------------------------------------------------------------------

 


  Hits: 4037 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 สวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง เพื่อตัวคุณเองและคนรอบข้าง (16/1/2562)
 สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ประจำวันที่ 14 มกราคม 2562 (14/1/2562)
 ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง...ของอย่าลืมมองหาสัญลักษณ์โภชนาการ ทางเลือกสุขภาพ นะคะ (21/1/2562)
 อันตรายจากลูกโป่งอัดไฮโดรเจน แนะ 3 วิธีลดความเสี่ยง (9/1/2562)
 4 ภัยสุขภาพ ที่มากับลมพายุ (4/1/2562)
 การดูแลช่องปาก (3/1/2562)
 นั่งเล่นมือถือระหว่างขับถ่าย... เสี่ยงโรค (9/1/2562)
 เลี่ยงอาหารเสี่ยง เลี้ยงอาหารสุก (25/12/2561)
 การปฏิบัติตัวของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน (21/12/2561)
 4 โรค 3 ภัยสุขภาพ ควรระวังในฤดูหนาว (18/12/2561)
จำนวน 394 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ << <  22  23  24  25 26  27  28  29  30  >  >>  ... ]  
  เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง