โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
   Health for Future
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซ์ืที่เกี่ยวข้อง


ปรับพฤติกรรมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยผักพื้นบ้าน อาหารเป็นยา
  • อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ แนะปรับพฤติกรรมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงด้วยพืชสมุนไพร ผักพื้นบ้าน อาหารเป็นยา ป้องกันและลดภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องในวัน “ความดันโลหิตสูงโลก”
  • นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับวันความดันโลหิตสูงโลกว่า ตามที่สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension League) และสมาคมโรคความดันโลหิตสูงนานาชาติ (International Society of Hypertension) ได้กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก ในระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 - 2561 (ค.ศ. 2014 - 2018) ซึ่งคำขวัญเพื่อการรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลกที่สมาพันธ์กำหนด คือ Know Your Number ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ได้แปลคำขวัญดังกล่าวเพื่อใช้ในการรณรงค์ว่า “ท่านทราบระดับความดันโลหิตของท่านหรือไม่” ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงหรือภาวะความดันโลหิตสูง เป็น 1 ใน 4 ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases : NCD’s) เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ความดันโลหิตของคนปกติเท่ากับ 90/60 มม.ปรอท -119/79 มม.ปรอท ส่วนผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะมีระดับของความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป และพบว่าปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ อาหารรสเค็ม โรคอ้วน สูบบุหรี่ ติดสุรา พันธุกรรม โรคเบาหวาน ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะมีโอกาสเป็นโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต องค์การอนามัยโลกกำหนดค่าเป้าหมายในแผนปฏิรูปสุขภาพ ให้แต่ละประเทศดำเนินการให้บรรลุ 9 ค่าเป้าหมาย ภายในปี 2568 โดยความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงต้องลดลงร้อยละ 25
  • เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ดังนั้น องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาพื้นบ้าน จึงมีการนำพืชผักพื้นบ้านมาปรุงเป็นอาหาร เพื่อป้องกันและรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ตัวอย่างเช่น ใบบัวบก ใบย่านาง มะรุม กระเจี๊ยบ กระเทียม ขิง หม่อน ส่วนน้ำสมุนไพรที่ช่วยลดความดันโลหิต ได้แก่ น้ำบัวบก น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย น้ำขิง ส่วนยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติคือ ยาหญ้าหนวดแมว และยากระเจี๊ยบแดง ยาทั้ง 2 ชนิด มีสรรพคุณขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ข้อควรระวังไม่ควรใช้ในผู้ที่มีการทำงานของหัวใจและไตบกพร่อง เนื่องจากมีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง ซึ่งผักพื้นบ้านและยาสมุนไพรที่กล่าวมาข้างต้น งานวิจัยรับรองสรรพคุณในการลดความดันโลหิตได้

นอกจากผักพื้นบ้าน น้ำสมุนไพร และยาสมุนไพรที่ช่วยลดความดันโลหิตแล้ว ควรที่จะออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ จำกัดการบริโภคอาหาร รสหวานจัด เค็มจัด และอาหารไขมันสูง หากิจกรรมนันทนาการผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ เป็นต้น เพียงเท่านี้ ชีวิตคนเราก็จะห่างไกลกับโรคความดันโลหิตสูง และไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงในอนาคตข้างหน้า

หากต้องการทราบข้อมูลสรรพคุณของสมุนไพร สามารถดูได้จากแอพพลิเคชั่น “สมุนไพรเฟิร์ส” หรือสอบถามได้ที่ Call Center 0 2591 7007 ต่อกองวิชาการและแผนงาน

--------------------------------------------------------------------------------

  Hits: 4805 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 การดูแลจิตใจเมื่อทราบข่าว หรือเห็นภาพความรุนแรง (7/10/2565)
 วิธีสังเกต ไฟรั่ว ในพื้นที่ฝนตก หรือท่วมขัง (19/9/2565)
 สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน รับประทานร่วมกันส่งผลอย่างไร? (18/8/2565)
 โรคซึมเศร้า (16/8/2565)
 โรคฝีดาษวานร (Monkeypox) คืออะไร อันตรายแค่ไหน? (25/7/2565)
  ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (22/7/2565)
 ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) สิทธิบัตรทอง (19/7/2565)
 สวมหน้ากาก...ป้องกันโรค (12/7/2565)
 คำแนะนำ ป้องกันโรคโควิด 19 (27/6/2565)
 โรคตาแดง (14/6/2565)
จำนวน 394 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ << <  1  2  3 4  5  6  7  8  9  10  >  >>  ... ]  
  เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง